25 ตุลาคม 2566
CEO EEP Group เผยไม่หมดกำลังใจแก้ปัญหา มองทุกปัญหาเป็นโอกาสเพราะยึดจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจเป็นกรอบในการบริหารงาน บริษัทไม่เคยมีความคิดจะสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมทุกกรณี และไม่เคยตั้งใจเพิกเฉยต่อความเดือดร้อนรำคาญของชุมชน ทุกครั้งที่มีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น เราก็รีบเข้าควบคุมเหตุการณ์และแก้ปัญหาโดยทันที
เป็นเวลากว่า 3 ปีมาแล้ว ที่ EEP Group หรือกลุ่มบริษัทอีอีพี เปลี่ยนคณะผู้บริหารใหม่ยกชุด กลุ่มบริษัท
อีอีพี ประกอบด้วย
บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด (EEP) ซึ่งมีธุรกิจหลัก คือ ให้บริการกำจัดขยะชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยวิธีการฝังกลบตามหลักวิศวกรรม
โดยมีลานฝังกลบขนาด 159 ไร่ อยู่ภายในพื้นที่ศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแพรกษาใหม่
ในท้องที่ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ
ซึ่งมีขนาดพื้นที่รวม 320 ไร่ และ มีบริษัทในเครืออีก 2 บริษัท
ดำเนินกิจการที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ บริษัท ราชบุรี อีอีพี รีนิวเอเบิ้ล เอนเนอจี้ จำกัด (R–EEP) ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิง RDF ที่ผลิตจากขยะชุมชน
ที่นำมาจากลานฝังกลบของบริษัท EEP และ
บริษัท สมุทรปราการ รีนิวเอเบิ้ล เอเนอร์จี้ จำกัด (SRE)ประกอบกิจการเก็บขนขยะชุมชนในท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด
และ เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ
ทั้ง บริษัท R–EEP และ บริษัท SRE มีสถานที่ทำการตั้งอยู่ในอาณาเขตพื้นที่ศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแพรกษาใหม่
เช่นเดียวกัน
EEP Group ยุคผู้นำทีมคนใหม่ เลือกทีมบริหารและทีมปฏิบัติการ ระดับมืออาชีพมาร่วมงาน
ผู้กุมบังเหียนการบริหารงานทั้งกลุ่ม
บริษัทอีอีพี ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ คือ นายอบีนาช มาจี้ นักธุรกิจผู้มากประสบการณ์ในการบริหารบริษัทใหญ่
ๆ ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศมาอย่างโชกโชน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานขององค์กรไหนในอดีตที่ผ่านมา
เขาเป็นมืออาชีพที่มีแนวทางการบริหารงานที่ชัดเจน และ มักคัดสรรผู้ที่มีศักยภาพในการทำงานสูง
และ มีใจเปิดกว้างพร้อมรับองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองเข้ามาร่วมงาน
“คณะผู้บริหารใหม่ของเรา โดยเฉพาะในสายงานการผลิต เป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจร
มีทักษะจากการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการขยะชุมชนมาจากหลากหลายแหล่ง เรามีบุคคลากรทั้งระดับบริหาร
และ ระดับปฏิบัติการ ที่มีศักยภาพถึงพร้อมด้วยความรู้ความชำนาญ และ ประสบการณ์เข้ามาร่วมงานเพิ่มมากขึ้น
และ มีเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ตลอดจนระบบขนส่งยานพาหนะที่ครบถ้วน บริษัทฯได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยเข้ามาปรับใช้และปรับปรุงกระบวนการทำงานทุกระบบ”
กิจการเจริญเติบโตก้าวหน้า ต้องควบคู่ไปกับการสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบที่ตั้งได้อย่างเป็นมิตร
คุณอบีนาช มาจี้ ขยายความของคำว่า “อยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบที่ตั้งได้อย่างเป็นมิตร” ด้วยการท้าวความถึงที่มาของการเป็นบ่อขยะแพรกษาใหม่ว่า เมื่อ
20 กว่าปีก่อน พื้นที่แห่งนี้เดิมทีเป็นที่โล่งว่างเปล่าของเอกชน ยังไม่มีหมู่บ้านจัดสรรหรือครัวเรือนเข้ามาตั้งอยู่ใกล้เคียง เจ้าของที่ดินเดิมทำธุรกิจขุดหน้าดินขาย จนที่ดินกลายสภาพเป็นบ่อขนาดใหญ่และลึกมาก และเจ้าของที่ดินเดิมก็ได้ทำเรื่องขออนุญาตต่อ กำนันตำบลแพรกษาใหม่ ในช่วงเวลานั้น ขอใช้บ่อหลุมลึกแห่งนี้
เปิดให้บริการรับเป็นที่ทิ้งขยะชุมชนแบบไม่ใช้องค์ความรู้หรือวิชาการใดๆในการบริหารจัดการบ่อฝังกลบ ซึ่งก็ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการได้
“คนเก่าคนแก่ที่อาศัยอยู่ในละแวกนี้ตั้งแต่อดีต ให้ข้อมูลว่า หลุมที่เกิดจากการขุดดินไปขายในอดีตนั้น ทั้งลึกทั้งใหญ่ ขนาดมองลงไปก้นหลุมเห็นรถขุดดินเหลือคันเล็กนิดเดียว และขยะชุมชนก็ถูกขนมาเทลงในหลุมนั้นอยู่นานหลายปีจนมันเต็มบ่อ ก็ลองคิดดูว่าปริมาณขยะที่ถูกทิ้งทับถมลงไปอย่างไม่ได้ใช้หลักวิชาการใดๆนั้นมันจะมากมายขนาดไหน และ ขยะชุมชนของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นยุคอดีตหรือปัจจุบัน ก็มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ประมาณร้อยละ 50 เป็นขยะเปียกขยะสดประเภทเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้สด มีขยะแห้งประเภทถุงพลาสติกใส่อาหาร ถุงพลาสติกประเภทอื่น พลาสติก และ ขยะรีไซเคิลได้ รวมถึงขยะอันตรายขยะอีเลคทรอนิคส์ ปะปนกันมารวมๆแล้วก็อีกประมาณร้อยละ 50 ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะประชาชนไทยนิยมทิ้งขยะแบบรวมๆลงในถังเดียว ไม่นิยมการแยกประเภทขยะก่อนทิ้ง ส่วนการเข้าเก็บขนขยะก็เก็บแบบเทรวมลงท้ายรถเหมือนกัน ดังนั้นบ่อฝังกลบในพื้นที่เอกชนแห่งนี้จึงเป็นที่รวมของขยะที่มาทับถมบูดเน่าและ
ส่งกลิ่นเหม็น แต่ยุคนั้นไม่มีประชาชนบ่นเรื่องความเดือดร้อนกับกลิ่นเหม็นของขยะ เพราะตอนนั้นยังไม่มีบ้านเรือนหรือหมู่บ้านจัดสรร ขยายเข้ามาตั้งอยู่ใกล้ๆ
บ่อขยะนั่นเอง ”
คุณอบีนาช มาจี้ ลำดับเหตุการณ์ให้ฟังต่อว่า ต่อมาประมาณปี พ.ศ 2554 ได้มีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเข้ามาซื้อที่ดินบ่อฝังขยะชุมชนแห่งนี้ เพื่อพัฒนาเป็นกิจการบริหารจัดการขยะชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการแบบครบวงจร โดยมีขยะชุมชนที่ถูกทิ้งทับถมแบบไม่ใช้หลักวิชาการจำนวนมหาศาลชนิดที่ไม่สามารถขุดขึ้นมาแล้วฝังลงไปใหม่ตามหลักวิชาการได้เป็นต้นทุนเดิมติดบ่อมาด้วย นักลงทุนกลุ่มนี้ได้จัดตั้ง บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด (อีอีพี) ขึ้นมีกองทุนเทลจากต่างประเทศถือหุ้นหลัก บริษัท อีอีพี เปิดตัว ดำเนินกิจการรับกำจัดขยะชุมชนของจังหวัดสมุทรปราการด้วยวิธีการฝังกลบแบบควบคุม (Control dump) บนลานฝังกลบ (Landfill) ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมที่เป็นบ่อฝังขยะอยู่ โดยมีหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการประกอบด้วย เทศบาลต่างๆ และ องค์การบริหารส่วนตำบล รวม 44 แห่ง เป็นผู้เข้าเก็บขนขยะชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของตน แล้วนำส่งขยะชุมชนทั้งหมดมายังปลายทาง คือที่ศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนของ
บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด(อีอีพี)แห่งนี้ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการกำจัด โดยรถที่บรรทุกขยะชุมชนเข้ามา จะยกท้ายรถเพื่อเทขยะลงบนลานเท ตามพิกัดที่บริษัทกำหนดตำแหน่งไว้ให้ จากนั้นจะใช้แรงงานคนเข้าคัดแยกขยะอันตราย เช่น ขยะอีเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ และ กระป๋องสารเคมี รวมถึงขยะแห้ง ประเภทรีไซเคิลได้
ออกมาก่อนเท่าที่สภาพการผสมปนเปของขยะที่รวมปนกันมาจะเอื้ออำนวย ขยะที่เหลือจากการคัดแยกในชั้นนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหารที่เปรอะเปื้อนอยู่กับถุงพลาสติกและขยะทั่วไปอื่น ๆ ซึ่งเหมาะกับการกำจัดด้วยวิธีฝังกลบเท่านั้น โดยการจัดการฝังกลบในช่วงเวลาดังกล่าว
จะใช้รถบรรทุกน้ำจุลินทรีย์อีเอ็ม ฉีดพ่นลักษณะพุ่งเป็นลำไปบนขยะก่อน เพื่อช่วยเร่งการย่อยสลายของอินทรีย์สารและควบคุมความรุนแรงของกลิ่นบูดเน่าของ
ขยะอินทรีย์ แล้วจึงใช้รถบดอัดขยะให้บีบตัวแน่น ทำซ้ำเช่นนี้ทุกวัน จนได้ชั้นขยะหนาตามที่กำหนดจึงจะใช้ดินและวัสดุเสมือนดิน (Soil like material)
ปิดทับชั้นบนสุดของขยะ จากนั้นใช้รถบดอัดให้แน่นอีกครั้ง แล้วปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 3 – 5 ปี เพื่อให้ขยะอินทรีย์ย่อยสลายไปจนหมด
แล้วจึงค่อยขุดขึ้นมาร่อนเอาแต่ขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ มาปรับปรุงคุณภาพทั้งขนาดและค่าความชื้นให้เหมาะกับการเป็นเชื้อเพลิง RDF
สำหรับป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า ขนาด 9.9 เมกกะวัตต์ ของบริษัท ราชบุรี อีอีพี รีนิวเอเบิ้ล เอนเนอจี้ จำกัด (R – EEP)
ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่ก่อตั้งขึ้นมาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับบริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด (EEP)
และมีที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแพรกษาใหม่ เช่นเดียวกัน
พ.ศ 2562 เปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น เปลี่ยนคณะผู้บริหาร เปลี่ยนวิธีการจัดการขยะ
ในปี พศ.2562 บริษัทฯปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เปลี่ยนตัวคณะผู้บริหารใหม่หมด โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ ส่งคุณอบีนาช มาจี้ เข้ามาเป็นผู้นำทีมบริหารงาน
“เมื่อผมเข้ามานำทีมการบริหารงาน ตอนปี 2562 ผมพบว่าที่นี่มีปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้สำเร็จอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาดิน และ
ขยะสไลด์ลงทับพื้นที่คลองทับนาง ปัญหากลิ่นขยะจากลานฝังกลบ ผมไม่ได้ว่าทีมบริหารเก่าเขาไม่ทำงานนะ แต่ผมพยายามต่อยอดพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหา และ หาองค์ความรู้จากวิทยาการจัดการปัญหาขยะชุมชนแบบใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับบริบทของบริษัทและ จังหวัดสมุทรปราการเข้ามาปรับใช้ เพื่อให้ปัญหาบรรเทาลงไปเรื่อย ๆ และ ประชาชนที่อยู่รอบข้างพื้นที่ตั้งของเรา สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย”
ต้องอยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบที่ตั้ง ได้อย่างเป็นมิตร”
พื้นที่โดยรอบที่ตั้งของศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแพรกษาใหม่ ประกอบด้วย ตำบลแพรกษาใหม่ ตำบลแพรกษา ตำบลบางพลีใหญ่ และบางส่วนของ
ตำบลเทพารักษ์ เป็นพื้นที่ที่อยู่ในทิศทางลมเหนือใต้พัดผ่านลานฝังกลบขยะชุมชนของบริษัท ในวันที่สภาพอากาศไม่อำนวย เช่น วันที่มีฝนตก ครึ้มฟ้าครึ้มฝน
หรือในช่วงฤดูหนาว จะเกิดสภาพความกดอากาศสูง ทำให้กลิ่นขยะจากลานฝังกลบไม่สามารถลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง จนพ้นกระแสลมได้ดี เท่ากับวันที่มีความกดอากาศต่ำ
ท้องฟ้าสดใสแสงแดดจัดจ้า จึงทำให้ชุมชนที่ตั้งอยู่ในทิศทางลมจะได้รับกลิ่นขยะจากลานฝังกลบในช่วงเวลาที่มีกระแส ลมพัดผ่าน การเอาชนะธรรมชาติของสภาพลมฟ้าอากาศเป็นสิ่งที่ยาก แต่อีอีพีก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้พยายามหาวิธีการบรรเทาปัญหาอย่างดีที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันจะเอื้ออำนวย ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถ “อยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบที่ตั้งได้อย่างเป็นมิตร” และเขาก็กำหนดเป็นกรอบนโยบายการทำงานให้กับพนักงานทุกคนต้องยึดมั่นปฏิบัติตาม
“ผมบอกพนักงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการเสมอว่า เราเป็นธุรกิจเอกชนจึงมีหน้าที่ต่อการดำเนินกิจการให้เจริญเติบโตก้าวหน้าเป็นการรับผิดชอบต่อเจ้าของเงินทุน ผู้ถือหุ้น และ พนักงานของบริษัทให้ได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรม ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ต่อท้องถิ่นและ ประเทศชาติด้วยการเสียภาษีอย่างถูกต้อง แต่อีกภาคส่วนที่เราให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือต้องดูแลสิ่งที่จะไปสร้างผลกระทบต่อประชาชน และ สิ่งแวดล้อมที่กิจการของเราตั้งอยู่ เราแคร์สิ่แวดล้อม เราแคร์ประชาชนในชุมชน พอ ๆ กับที่เราแคร์พนักงานของเราที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ และ พนักงานทุกคนสัมผัสใกล้ชิดกับสิ่งที่ชุมชน Complain มากเสียยิ่งกว่าชุมชนที่อยู่ห่างออกไปเสียอีก”
คุณอบีนาช มาจี้ กล่าวย้ำอีกครั้งในประเด็นของการยึดมั่นในจริยธรรมของการดำเนินธุรกิจว่า บริษัท ยึดมั่นในจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจในประเด็นที่ จะไม่ตั้งใจทำความเดือดร้อนให้ชุมชน จะไม่ตั้งใจสร้างความรำคาญให้ชุมชน และ ไม่เคยมีความคิดจะสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมทุกกรณี
บริษัทไม่เคยเพิกเฉยต่อความเดือดร้อนรำคาญของชุมชนโดยความตั้งใจ บริษัทเปิดช่องทางรับเรื่องราวร้องเรียนขึ้นหลายช่องทาง เพราะยินดีรับฟังปัญหา และ คำว่ากล่าวติติงด้วยความเข้าใจและเห็นใจ แม้บางครั้งบางคน จะใช้ถ้อยคำรุนแรงและไม่ยอมรับฟังคำชี้แจงใด ๆ ก็ตาม
“ผมสั่งพนักงานทุกคนให้ใช้ความอดทน รับฟังข้อร้องเรียนคำบ่นคำว่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน และ ให้นำคำร้องเรียนนั้นมาเร่งหาวิธีการที่เหมาะสม แก้ไขบรรเทาความเดือดร้อน หากมองเราด้วยสายตาที่เป็นธรรมก็จะเห็นได้ว่า ทุกครั้งที่มีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น เราจะรีบเข้าควบคุมเหตุการณ์โดยทันที และ
สามารถแก้ปัญหาได้ในเวลาไม่นาน เราตั้งงบประมาณเป็นเงินจำนวนไม่น้อย ลงทุนไปกับการซื้อเทคโนโลยีและ อุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้ทั้งใน
งานป้องกัน และ งานแก้ไข เพื่อคลี่คลายทุกปัญหา ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของบริษัท แล้วไปสร้างผลกระทบให้เกิดกับชุมชน แต่บางประเด็นปัญหา ไม่สามารถทำสำเร็จได้โดยง่ายและ เร็ววัน ทุกวันนี้บางปัญหาเราลองแก้ไขมาหลายวิธีแต่มันไม่สำเร็จ จนเราต้องลงทุนจ้างผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ จากทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ เข้ามาศึกษา วิเคราะห์วิจัยหาวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้ข้อสรุปถึงวิธีการที่มีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายเพิ่มให้น้อยที่สุด หรือวิธีการที่จะไม่เสี่ยงทำให้ปัญหาเดิมยิ่งบานปลาย ขยายวงออกไป ผมขอยืนยันว่าทุกปัญหาความเดือดร้อนรำคาญของชุมชน
เรารู้ เราเข้าใจ เราเห็นใจ และเรากำลังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการคลี่คลายมันลง ”
ปัญหาเรื่องกลิ่นขยะรบกวนชุมชนกับการแก้ไขปัญหา
เรื่องของกลิ่นขยะที่รบกวนชุมชนในพื้นที่ 4 ตำบล ที่ตั้งอยู่โดยรอบศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแพรกษาใหม่ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารชุดใหม่
นำโดยคุณอบีนาช มาจี้ ให้ความสำคัญมาก เพราะเข้าใจถึงความเดือดร้อนรำคาญของผู้อยู่อาศัยในชุมชนเหล่านั้นดี เขาสั่งการให้ฝ่ายจัดการลานฝังกลบ (Landfill) ศึกษาหาวิธีการบรรเทาปัญหาขยะเปียกซึ่งเป็นขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้สด เกิดการบูดเน่าและส่งกลิ่นเหม็นให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด
ซึ่งจากผลการศึกษาหาข้อมูล บริษัทแยกประเด็นออกมา เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตามสภาพอิทธิพลของลมฟ้าอากาศ และ การแก้ไขปัญหาระยะยาวที่จะส่งผลดีแบบองค์รวม
บรรเทาปัญหากลิ่นขยะบูดเน่าฟุ้งกระจายสู่ชุมชน ในระยะสั้น ใช้ 3 เครื่องมือ
สำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้นเป็นการเฉพาะหน้า บริษัทอีอีพีใช้ 3 วิธีการในการบรรเทาปัญหา คือ
· ใช้ E–Nose เป็นพระเอกในการตรวจจับค่าความเข้มข้นของกลิ่น
บริษัทลงทุนติดตั้งจมูกอัจฉริยะ หรือ Electronic Nose เรียกสั้นๆว่า E – Nose ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจจับค่าความเข้มข้นรุนแรงของกลิ่น ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยการลงโปรแกรมเชื่อมต่อเข้ากับโทรศัพท์มือถือของทีมงานนักผจญกลิ่น (Smell fighter) โดยบริษัทตั้งค่าความเข้มข้นของกลิ่นที่เครื่อง E – Nose จะสามารถตรวจจับได้ ไว้ที่ ระดับ 3 OU ซึ่งถือว่าได้ตั้งค่าความไวของการจับกลิ่นไว้ต่ำกว่ามาตรฐานยุโรปที่อนุญาตให้ตั้งค่าความเข้มข้นไว้ได้ตั้งแต่ระดับ 0 จนถึง 6 OU ส่วนค่ามาตรฐานของประเทศไทยนั้น มีกำหนดอนุญาตไว้เพียงให้ค่าความเข้มข้นของกลิ่นสามารถขึ้นสูงได้ถึง 15 OU ภายในขอบเขตรั้วของโรงงาน จึงเป็นข้อพิสูจน์ประการหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าว่า บริษัทอีอีพีให้ความสำคัญต่อปัญหากลิ่นขยะจะไปรบกวนคุณภาพชีวิตของชุมชนเป็นอย่างมากเพียงใด
“เครื่อง E – Nose นี้เรานำไปติดตั้งไว้ในพื้นที่ชุมชนที่อยู่ในทิศทางลมเหนือใต้พัดผ่าน ส่วนการทำงานของเครื่อง E – Nose นั้น ในทันทีที่เครื่อง E-Nose จับค่าความเข้มข้นของกลิ่นได้เกิน 3 OU ก็จะส่งข้อมูลและสัญญานเตือนอัตโนมัติเข้าสู่ระบบ เพื่อส่งตรงต่อมายังโทรศัพท์มือถือของผู้ที่มีหน้าที่บริหารจัดการปัญหากลิ่นของบริษัทแบบเรียลไทม์ (real time) 24 ชั่วโมงทันที ทำให้บริษัทสามารถพิสูจน์ทราบพิกัดพื้นที่รับผลกระทบจากกลิ่นขยะได้อย่างถูกต้อง และสามารถบรรเทาปัญหาความรุนแรงของกลิ่นลงได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น ด้วยการใช้น้ำจุลินทรีย์อีเอ็มสูตรที่เหมาะสมกับค่าความเข้มข้นของกลิ่นที่เครื่องตรวจวัดได้ ขึ้นไปฉีดพรมควบคุมความรุนแรงของกลิ่นขยะบนพื้นที่บนลานฝังกลบตามพิกัดทิศทางที่กลิ่นกระจายไปถึง”
· สร้างหน่วยผลิตน้ำจุลินทรีย์อีเอ็ม สูตรเฉพาะของบริษัทอีอีพี ไว้ใช้งานเอง
นอกจากน้ำจุลินทรีย์ EM จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการควบคุมบรรเทาความรุนแรงของกลิ่นขยะอินทรีย์ที่บูดเน่าเหม็นอยู่บนลานฝังกลบแล้ว น้ำจุลินทรีย์ EM ยังถูกใช้ไปในการทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายของขยะประเภทเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ ซากสัตว์ต่างๆ ให้เกิดการย่อยสลายเร็วยิ่งขึ้น และ ยังนำไปใช้ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำในลำคลองสาธารณะต่าง ๆ ในเขตพื้นที่รอบที่ตั้งศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชนแพรกษาใหม่อีกด้วย
บริษัทตั้งหน่วยผลิตน้ำจุลินทรีย์ EM จากขยะชุมชนประเภทผักสด ขึ้นภายในพื้นที่ของบริษัท ทำหน้าที่ผลิตน้ำจุลินทรีย์ EM สูตรต่าง ๆ ที่เหมาะสม กับสภาพการใช้งานบนลานฝังกลบ ทั้งในด้านฉีดพรมเพื่อเร่งการย่อยสลายของอินทรีย์สารในขยะเปียกประเภทเศษอาหาร (Food Waste) และ ด้านลดความรุนแรงของกลิ่นขยะที่ฟุ้งตามลมไปยังชุมชนตามพิกัดที่ได้รับแจ้งปัญหา นอกจากนี้ยังนำไปฉีดลงแหล่งน้ำลำคลองสาธารณะเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียเป็นประจำ ทุกเดือน และ ยังสนับสนุนน้ำจุลินทรีย์อีเอ็มฟรี แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในละแวกใกล้เคียงด้วย
· ปูผ้าพลาสติกอย่างหนาปิดทับพื้นที่ลานฝังกลบขยะที่เข้ามาใหม่
การใช้ผ้าพลาสติกอย่างหนา ปูปิดทับพื้นที่ลานฝังกลบขยะที่เข้ามาใหม่ทุกวัน ก็เพื่อรอเวลาให้ได้ชั้นขยะหนาตามที่กำหนด แล้วจึงทำการปิดทับอย่างถาวรด้วยดิน และ วัสดุเสมือนดิน (Soil like material) ด้วยเทคนิคในขั้นตอนนี้ จะทำให้กลิ่นบูดเน่าของขยะประเภทเศษอาหารซึ่งเป็นอินทรีย์สารที่บูดเน่าได้ง่าย ถูกปิดคลุมไว้ไม่ให้ฟุ้งกระจายไปไกล รวมถึงกันน้ำฝนที่ตกลงมาไม่ให้สามารถซึมผ่านชั้นขยะลงไปถึงก้นบ่อฝังกลบได้มากนัก นอกจากนี้ยังกันไม่ให้แมลง และ สัตว์ต่าง ๆ มาคุ้ยหรือตอมขยะที่บูดเน่านั้นได้
“ ที่ท่านเห็นว่าภูเขาขยะบางส่วนทำไมมีผ้าพลาสติกยาว ๆ คลุมไว้ แต่บางส่วนไม่ได้คลุม ผมขออธิบายว่า ส่วนที่คลุมผ้าพลาสติก คือ ขยะใหม่ที่เข้ามาทุกวันที่
ยังไม่ได้ชั้นหนาตามหลักวิศวกรรมที่กำหนดไว้ เราจึงใช้เทคนิคนี้เพื่อปิดกั้นกลิ่นจากขยะอินทรีย์พวกเศษอาหาร ผัก ผลไม้ทั้งหลายที่บูดเน่าไม่ให้ฟุ้งกระจายไปพลาง ๆ ก่อน และ ผ้าพลาสติกยังทำหน้าที่กันน้ำฝนกันสัตว์พวกแมลงวันต่าง ๆ ด้วย เมื่อได้ชั้นขยะหนาพอแล้ว เราจึงจะใช้ดินและ วัสดุเสมือนดิน
(Soil like material) มาปิดทับบดอัดให้แน่น เป็นการปิดทับแบบถาวร แล้วทิ้งไว้อย่างนั้นเป็นเวลา 3-5 ปี เพื่อให้ขยะที่เป็นอินทรีย์สารย่อยสลายให้หมด
พื้นที่ตรงส่วนนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ผ้าพลาสติกปิดคลุมอีกชั้น เพราะกลิ่นไม่สามารถฟุ้งกระจายออกมาได้แล้ว เราไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าพลาสติกห่อภูเขาขยะไว้ทั้งหมด นอกจากนี้วัสดุเสมือนดิน (Soil like material ) ที่เราใช้ปิดปกคลุมชั้นขยะตามคำแนะนำของนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ เช่น
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งได้ทำการวิจัยพบว่า แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในวัสดุเสมือนดินสามารถทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในอากาศ
แล้วไปสร้างปฏิกิริยาต่อเนื่องกับก๊าซมีเทนในลานฝังกลบ ส่งผลให้ก๊าซมีเทนกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เรียกว่า Methane Oxidation layer(MOL)
ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีคุณสมบัติไม่ติดไฟและไม่มีกลิ่น จึงทำให้ลานฝังกลบของเราสามารถควบคุมปัญหาไฟไหม้ได้ในเวลาอันรวดเร็วทุกครั้ง เนื่องจากมี ปริมาณก๊าซมีเทนซึ่งมีคุณสมบัติติดไฟได้ หลงเหลืออยู่น้อยมาก ๆ ไฟไหม้ลานฝังกลบขยะทุกครั้งเราสามารถดับได้ในเวลาอันสั้น และ เรารีบส่งทีมนักสิ่งแวดล้อมเข้าไปตรวจค่าอากาศในชุมชนใกล้เคียงแวดล้อมพื้นที่เรา และ อยู่ในทิศทางใต้ลม เราพบว่าไม่มีก๊าซอันตรายใด ๆ กระจายไปทำอันตรายต่อสุขภาพของชุมชน และ เราก็พบว่าตัวการที่ก่อปัญหาไฟไหม้คือขยะอีเลคทรอนิกส์ประเภทแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือบ้าง ไฟแช็คบ้างที่ปะปนมากับขยะชุมชนที่นำส่งเข้ามาฝังกลบในพื้นที่เรา”
· ปลูกต้นไม้สูงและใบหนา ไว้เป็นกำแพงธรรมชาติ ลดความแรงของลมและช่วยกรองฝุ่น
ต้นสนสูงปลูกเรียงรายเป็นแถวทอดยาวไปตามถนนส่วนบุคคลของ บริษัทอีอีพี ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไป ใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้มายาวนาน
จนบางคนอาจคิดว่านี่ คือ ถนนสาธารณะไปแล้วนั้น คือ สัญญลักษณ์ที่แจ้งให้รู้ว่ากำลังอยู่ใกล้พื้นที่ฝังกลบขยะ เพราะ แนวต้นสนสูงเหล่านี้ไม่ใช่แค่ปลูกไว้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวสวย ๆ แต่มันคือกำแพงกันลมแบบธรรมชาติ (Natural Wind Bunker) ที่บริษัทปลูกไว้เพื่อตั้งใจให้มันทำหน้าที่ลดความแรงของลมที่จะพัดผ่านลานฝังกลบแล้วหอบเอากลิ่นไปถึงย่านพักอาศัยของประชาชน และ มันยังช่วยทำหน้าที่กรองฝุ่นไปในตัวอีกด้วย
“ผมตั้งใจจะพยายามลบภาพว่าบ่อขยะ คือ ผู้ร้ายในสายตาของผู้คน เพราะที่จริงแล้ว บ่อขยะคือสถานที่รองรับสิ่งที่ทุกคนร่วมกันสร้างขึ้นมาทุกวันต่างหาก เพราะ ทุกคนก็สร้างขยะใหม่กันทุกวัน เมื่อจำนวนคนเพิ่มขึ้นขยะก็เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนคน กฏหมายประเทศไทยห้ามไม่ให้มีการขนย้ายขยะชุมชนไปทิ้งข้ามจังหวัดที่บ่อฝังกลบขยะของ อีอีพี ไม่รับขยะข้ามจังหวัดนะครับ ขยะวันละ 2,500 ตัน ที่เข้ามายังพื้นที่เรา คือ ขยะของจังหวัดสมุทรปราการล้วน ๆ ส่วนบ่อขยะของคนอื่นจะยังไงผมไม่ทราบเนื่องจากในพื้นที่แพรกษา และ ในพื้นที่อื่นในสมุทรปราการ ยังมีบ่อขยะอีกหลายแห่ง สำหรับที่นี่หากเปลี่ยนมุมมองบ่อขยะของเรา จากภาพลบ ว่ามันเป็นตัวสร้างปัญหา แล้วค่อย ๆ หาทางออกไปทีละเรื่อง มันมีทางออกแน่นอน เช่นปีหน้าเราจะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เราก็สามารถเอาขยะที่สะสมอยู่ออกมาใช้ได้มากขึ้น ยิ่งเราได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้มากโรงเพิ่มขึ้นเท่าไร ขยะที่สะสมอยู่ก็จะค่อยๆถูกนำมาใช้จนหมดไปเร็วขึ้นเท่านั้น แล้วในที่สุดปริมาณขยะขาเข้า ก็จะสมดุลย์กับขยะขาออก ภาพภูเขาขยะก็จะหายไป กลิ่นขยะที่รบกวนชุมชนก็จะหายไป เช่นกัน
ระหว่างนี้ผมก็เร่งให้มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในพื้นที่ ตรงไหนพอจะมีพื้นที่ว่าง พนักงานของผม เขาก็จะปลูกไม้ยืนต้นบ้าง ปลูกผักบ้าง เราจะพยายามให้สถานที่แห่งนี้เป็นพื้นที่สีเขียว มีความสวยงามของพืช ทั้งไม้กินได้และไม้ดอกไม้ประดับ มีต้นไม้เขียว ๆ สูง ๆ เป็น กำแพงธรรมชาติไว้กันลม (Natural wind bunker)
แก้ปัญหากลิ่นขยะในระยะยาว ทุกคนต้องช่วยกัน ลดการนำส่งขยะอินทรีย์เข้าสู่พื้นที่ฝังกลบ
จากข้อมูลการวิจัยองค์ประกอบของขยะชุมชนในประเทศไทย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่าปัจจุบันสถานการณ์ของขยะชุมชนในประเทศไทย มีขยะเปียกจำพวกเศษอาหาร ผักสด ผลไม้สด ใบไม้สด เป็นองค์ประกอบหลักถึงร้อยละ 50 ในส่วนของขยะชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะ ขยะชุมชนจำนวนวันละ 2, 50 ตัน ที่เดินทางเข้าสู่ลานฝังกลบของ บริษัทอีอีพี มีขยะเปียกจำพวกเศษอาหาร
เป็นองค์ประกอบหลักถึง ร้อยละ 49 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2564 ที่มีเพียงร้อยละ 33 นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมความรุนแรงของกลิ่นบูดเน่าของขยะ
จึงเพิ่มมากขึ้น
“ ผมมองปัญหาขยะชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการว่า มันจะค่อยๆดีขึ้นได้ ถ้าทุกภาคส่วนช่วยกันขับเคลื่อนแก้ปัญหาไปพร้อมๆกัน ตั้งแต่ ครัวเรือน
ซึ่งเป็นต้นทาง ของการเกิดขยะชุมชนที่ต้องสร้างวินัยการแยกประเภทขยะก่อนนำมาทิ้งลงถัง กลางทาง คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่เข้าเก็บ
ขนขยะออกมาจากครัวเรือน ก็ต้องปรับปรุงวิธีการหรือกระบวนการในการเข้าเก็บขนขยะออกมาจากครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพ และ ถูกหลักวิชาการมากกว่า
ในปัจจุบัน ด้วยการออกระเบียบ ข้อบังคับหรือมาตรการใด ๆ ก็ตามให้ประประชนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเข้าเก็บ
ขนขยะ ส่วนปลายทาง อย่างพวกผม
ซึ่งเป็นสถานีสุดท้าย ทำหน้าที่กำจัดขยะที่ถูกส่งเข้ามาทุกวัน พวกเราก็ต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สอดรับกับลักษณะของขยะ และ วิธีการนำส่งขยะ
เข้ามาให้เรา หากขยะถูกแยกประเภทมาก่อนแล้ว รวมทั้งการนำส่งก็แยกประเภทมาส่ง ไม่ใช่เทผสมปนเปกันมาหมดจนแยกขยะเปียกขยะแห้งออกจากกันได้
ยากลำบากมาก ๆ อย่างทุกวันนี้ ปลายทางอย่างพวกผมจะสามารถกำจัดขยะแต่ละประเภทได้อย่างหมดจด รวดเร็วมีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
ได้อย่างแน่นอน ปัญหากลิ่นขยะบูดเน่าบนลานฝังกลบและส่งกลิ่นเหม็นก่อความรำคาญให้ชุมชนจะค่อย ๆ ลดลงจนหมดไปในที่สุด ปัญหาไฟไหม้ลานฝังกลบขยะ เพราะขยะอันตรายประเภทขยะอีเล็คทรอนิกส์ระเบิดติดไฟก็จะหมดไปเช่นกัน”
ปัญหาขยะจากลานฝังกลบทางทิศตะวันออกเคลื่อนตัวลงสู่คลองทับนางจนปิดทางน้ำไหล
เรื่องนี้มันเป็นผลที่เกิดมาจากเหตุที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่แรกเริ่ม เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว กล่าวคือในตอนเริ่มต้น บ่อขยะแห่งนี้ได้รับใบอนุญาตออกให้
โดยกำนันตำบลแพรกษาใหม่ในช่วงเวลานั้น ให้สามารถใช้วิธีนำขยะมาเทถมลงไปในหลุมเฉย ๆ ได้เลย โดยไม่ได้มีการใช้หลักวิชาการเชิงวิศวกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่มีรองก้นบ่อด้วยผ้าพลาสติกอย่างหนาเสียก่อน ไม่มีการปกคลุมผิวหน้าขยะด้วยวัสดุใด ๆ ทั้งสิ้น ใช้วิธีนี้เรื่อยมาจนขยะที่นำมาถมมีปริมาณเต็มหลุม และ ทำให้มีปริมาณน้ำซึมผ่านชั้นขยะลงไปสะสมที่ก้นบ่อฝังกลบในปริมาณมาก ต่อมาเมื่อมีการขายที่ดินออกมาให้นักลงทุนกลุ่มแรก
ซึ่งเขาเห็นโอกาสทางธุรกิจบริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจร บริษัท อีอีพี จึงเกิดขึ้น เพื่อทำธุรกิจรับกำจัดขยะชุมชนด้วยวิธีการเทกองแบบควบคุม
(Control Dump) และ ด้วยความตั้งใจจะเร่งการย่อยสลายของขยะอินทรีย์และควบคุมความเข้มข้นของกลิ่นขยะ ทำให้มีการฉีดพ่นน้ำจุลินทรีย์อีเอ็มบนลานฝังกลบเป็นปริมาณมากในทุก ๆ วัน บวกกับน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงหน้าฝน ทำให้น้ำทั้งหมดลงไปสะสมเพิ่มอยู่ที่ก้นบ่อฝังกลบเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนทำให้ขยะที่ก้นบ่อคลายความแน่นลง เนื่องด้วยเกิดการพองตัวจากภาวะแช่อยู่ในน้ำที่ขังมาเป็นเวลานาน ส่งผลต่อเนื่องให้ขยะที่ไม่ย่อยสลายเกิดการลอยตัวฟูขึ้น จนดันขยะใหม่ที่นำเข้ามาเพิ่มทุกวัน และ ถูกฝังกลบอยู่ชั้นบน ๆ ยกตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดสภาพเสมือนว่า ลานฝังกลบมีขยะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมองเห็นเป็นกองภูเขาขยะสูงชัน นอกจากนี้น้ำที่ขังตัวอยู่ในหลุมลึกใต้ลานฝังกลบขยะก็ทำให้ดินรอบบ่อที่ห่อหุ้มขยะเก่าอยู่ กลายสภาพเป็นดินอ่อนเหลวจนไม่สามารถต้านแรงกดทับของขยะที่อยู่ข้างบนซึ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกวันไว้ได้ ทำให้ขยะภายในบ่อที่เป็นหลุมลึกเกิดการดันตัวออกทางด้านข้างไปเรื่อย ๆ จนดันดินข้างบ่อให้เคลื่อนตัวทางข้างออกไปพร้อมๆกับมวลขยะจนถึงแนวคลองทับนางทางด้านทิศตะวันออกของลานฝังกลบ ทำให้เกิดสภาพดิน และ ขยะโก่งตัวขวางแนว
คลองทับนาง ระยะทางประมาณ 600 เมตร
ซึ่งเมื่อผู้บริหารชุดปัจจุบันเข้ามาบริหารงานเมื่อปี 2562 ก็ได้เร่งหาวิธีแก้ไขปัญหาหลากหลายทาง เช่น การใช้รถขุดตักขยะออกจากผิวคลอง แต่พบว่าทันทีที่ตักขยะในคลองออก ก็เกิดภาวะมีปริมาณขยะที่มากกว่าเดิมไหลเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว เมื่อเปลี่ยนวิธีการมาเป็นการสร้างเขื่อน เพื่อกันขยะไหลมาแทนที่ขยะที่ถูกตักออกเสียก่อน ค่อยทำการตักขยะที่อยู่ในทับคลองออกทีหลัง ปรากฏว่า ไม่มี บริษัท วิศวกรก่อสร้างเขื่อน รายใด กล้ารับประกันความแข็งแรงของเขื่อน ว่าจะมีมากพอต้านทานแรงดันที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของขยะภายใต้บ่อฝังกลบได้ เนื่องจากการสำรวจด้วยเครื่องมือทางธรณีวิทยาชั้นสูง พบว่าพื้นที่ตามแนวคลองทับนางที่ถูกขยะเคลื่อนตัวลงไปทับถม เมื่อสำรวจลึกลงไปเพื่อการตอกเสาเข็มสร้างเขื่อนกลับพบว่า ใต้พื้นผิวลึกลงไปไม่มีสภาพเป็นดิน แต่มันคือขยะที่ไม่มีความหนาแน่นเพียงพอที่จะทำให้เสาเข็มทรงตัวได้อย่างแน่นหนาและไม่โยกคลอนไปตามแรงกดทับ
แก้ปัญหาชั่วคราว โดยสร้างคลองเทียม ให้น้ำในคลองเกิดการเคลื่อนตัวไหลผ่านไปได้
ปัญหาขยะปิดขวางทางเดินของน้ำในคลองทับนาง ได้ผ่านความพยายามหาทางออกมาหลากหลายวิธีแล้ว แต่ทุกวิธีที่ได้ทดลองทำมา ยังไม่ประสบความสำเร็จจนสามารถแก้ไขปัญหาได้ลุล่วง ขณะนี้บริษัทได้แก้ไขปัญหาชั่วคราวโดยการ
· วางท่อพีวีซีขนาดรัศมี 6 นิ้ว ยาว 600 เมตร สร้างเป็นคลองเทียมพาดตามแนวความยาวของผิวคลองที่ถูกขยะปิดกั้น เพื่อให้น้ำในคลองสามารถเคลื่อนไหวไหลผ่านไปได้
· ขณะเดียวกันบริษัทได้นำกังหันน้ำ ไปติดตั้งในคลองทับนางส่วนที่อยู่ต้นพื้นที่ขยะปิดกั้นและ ในส่วนที่อยู่ใต้แนวคลองที่ถูกปิดกั้น ทั้งนี้
เพื่อให้น้ำเกิดการหมุนเวียนเป็นการเพิ่มออกซิเจนลงในน้ำไม่ให้เกิดภาวะน้ำนิ่ง และ เน่าเสีย
· ขึงตาข่ายตามแนวคลองทับนางส่วนที่อยู่ใกล้ลานฝังกลบขยะ แต่ไม่ใช่พื้นที่คลองจุดที่ถูกขยะเคลื่อนตัวมาปิดทับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกั้นขยะที่ถูกลมพัดไม่ให้ตกลงในคลองทับนาง
· ขุดลอกคลองทับนาง ปีละ 2 ครั้ง เพื่อนำผักตบชวาและดินโคลนออก ไม่ให้กีดขวางทางน้ำไหล
· นำน้ำจุลินทรีย์อีเอ็ม ฉีดพ่นลงในแนวคลองทับนางเป็นประจำทุกเดือน เพื่อช่วยให้อินทรีย์สารในน้ำเกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น และ
ไม่ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสีย
“ปัญหาคลองทับนาง เป็นโจทย์ยากที่ผมไม่สบายใจ และ จะพยายามทุกวิถีทางต่อไป ที่จะหาวิธีการแก้ปัญหาให้ดีที่สุด เรายินดี และ เต็มใจทำทุกอย่าง ทุกวันนี้เราดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ใกล้เคียง เราเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของชาวบ้านในละแวกนั้น เราดูแลตรวจสุขภาพประจำปีให้ชาวบ้าน และ เด็กนักเรียนฟรีทุกปี โดยเลือกใช้สถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือของรัฐบาล แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการใช้บริการของเอกชนก็ตาม”
ปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจายในถนนสาธารณะและน้ำขยะจากรถขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหกรดถนนสาธารณะ
· ปัญหาเรื่องสถานการณ์ฝุ่นในท้องถนนสาธารณะ และ ฝุ่น PM 2.5 เป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และ ระบบทางเดินหายใจของทุกคน
ความจริงแล้วเรื่องของฝุ่นไม่ได้เกิดขึ้นจากบริษัทอีอีพีเป็นต้นเหตุหลัก เพราะ ฝุ่นในท้องถนนเกิดจากการสัญจรของยวดยานต่าง ๆ ฝุ่น PM 2.5
ก็เกิดจากหลายปัจจัยทั้งการก่อสร้าง ยวดยานพาหนะรถยนต์ต่าง ๆ แต่ อีอีพี ก็ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมเสมอมา ด้วยความห่วงใยในสุขภาพของเด็กนักเรียน
และ ประชาชนทั่วไป เราดำเนินการหลายอย่าง เช่น
§ ซื้อเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น ติดตั้งให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ เพื่อที่จะเป็นการเฝ้าระวังไม่ให้เด็กๆออกมาทำกิจกรรม
นอกห้องเรียนในวันที่อากาศมีค่าฝุ่นขึ้นสูง
§ ซื้อเครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ ติดตั้งให้โรงเรียนวิเทศศึกษา เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าตรวจหาค่าฝุ่นในพื้นที่ตำบลแพรกษา แพรกษาใหม่ บางพลีใหญ่ เพื่อที่จะเป็นการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพของตนเอง ในวันที่อากาศมีค่าฝุ่นขึ้นสูง
§ ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ ในพื้นที่ชุมชน ที่อยู่ทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของที่ตั้งของบริษัท
§ นำรถดูดฝุ่นของบริษัท ออกวิ่งให้บริการดูดฝุ่นในถนนสาธารณะในพื้นที่ใกล้เคียงที่ตั้งของบริษัทเป็นประจำทุกสัปดาห์
§ นำรถน้ำ ออกล้างทำความสะอาดถนนในย่านชุมชน ตามเส้นทางในซอยขจรวิทย์
บริษัทต้องอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นมิตร มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ดังที่กล่าวแล้วว่า กลุ่มบริษัทอีอีพี ยึดจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจเป็นกรอบในการทำงาน ไม่ทำความเดือดร้อนรำคาญให้กับชุมชนโดยตั้งใจ
ไม่สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมโดยตั้งใจ การปฏิบัติตนให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นมิตรมีความเข้าอกเข้าใจเห็นใจซึ่งกันและกัน
จึงเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
· ร่วมกิจกรรมของท้องถิ่น
กิจกรรมทางสังคมใดที่ชุมชนหรือราชการท้องถิ่นจัดขึ้น และบริษัทสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ จะให้ความร่วมมือทันที ไม่ว่าจะเป็น
กิจกรรมงานวันเด็ก งานวันผู้สูงอายุ งานประเพณีของท้องถิ่น เช่น งานทำบุญเจ้าพ่อโคกพร้าว งานทำบุญกลางนา งานกาชาดงานฤดูหนาว
งานเทศกาลโยนบัว งานเทศกาลปากน้ำ งานแข่งขันฟุตบอลประจำปีแพรกษาใหม่ เป็นต้น
· สนับสนุนกิจการของหน่วยราชการ
ตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯให้การสนับสนุนกิจกรรมของหน่วยราชการตามที่ขอรับการสนับสนุนมาอย่างหลากหลาย เช่น
สนับสนุนด้านจัดหายานพาหนะ และ การซ่อมบำรุงยานพาหนะให้แก่สถานีตำรวจภูธรบางปู และ เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่
สนับสนุนสร้างศาลาที่พักให้แก่ผู้มาติดต่อราชการตลอดจนครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ให้แก่สถานีตำรวจภูธรบางปู มอบงบประมาณสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ในช่วงเทศกาลของเจ้าหน้าที่กองป้องกัน และ บรรเทาสาธารณภัย บริจาคเวชภัณฑ์ถังออกซิเจน หน้ากากอนามัยและเตียงผู้ป่วย ให้แก่ศูนย์พักคอยต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 สนับสนุนเครื่องมือประกอบอาชีพให้กลุ่มสตรีวิสาหกิจชุมชนปลาร้าคุณย่าบางบ่อ
ตามการประสานงานของ กอ.รมน.สมุทรปราการ เป็นต้น
· สนับสนุนกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาในหลายระดับ
บริษัทได้จัดสรรงบประมาณประจำปี เพื่อมอบเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของรัฐบาลในจังหวัดสมุทรปราการตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัย ปีละ 5 ทุน และ ยังสนับสนุนการศึกษาระบบพหุภาคี ด้วยการเปิดรับนักศึกษาสายวิชาชีพเข้ามาฝึกงานกับบริษัท โดยบริษัทจ่ายค่าตอบแทนการฝึกงานด้วย
“กลุ่มบริษัทอีอีพี ดำเนินกิจการอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ เรามีความมุ่งมั่นร่วมสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนตามศักยภาพที่บริษัทเอกชนหนึ่งจะพึงกระทำได้ สิ่งหนึ่งที่เราอยากเห็น คือ จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดต้นแบบที่สามารถบริหารจัดการขยะชุมชนได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ จนกลายเป็นจังหวัดที่ไม่มีขยะตกค้าง เพราะขยะทุกประเภทถูกนำไปต่อยอดใช้ประโยช์ได้จนหมดสิ้นจนได้ชื่อว่า จังหวัดไร้ขยะ (Zero west Province)”
บริษัทเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนไว้ตลอดเวลา
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มบริษัทอีอีพี ยืนยันส่งท้ายว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาบริษัทฯ มีการเปลี่ยนคณะผู้บริหารใหม่ และ เขาเข้ามาปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารธุรกิจใหม่หมด โดยยึดจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจเป็นกรอบในการบริหาร เขายืนยันชัดเจนว่า กลุ่มบริษัทอีอีพี ไม่เคยมีความคิดจะ
สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกรณี และ ไม่เคยเพิกเฉยต่อความเดือดร้อน รำคาญของชุมชนโดยความตั้งใจ
“ ทุกครั้งที่มีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น ทีมงานของเราเข้าควบคุมเหตุการณ์และแก้ปัญหาโดยทันทีไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ไฟไหม้ลานฝังกลบ เราก็ใช้คนที่
ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี และ ใช้รถดับเพลิงของ บริษัทเข้าระงับเหตุโดยมีรถดับเพลิงของทางเทศบาลเข้ามาร่วมสนับสนุน เราใช้เงินลงทุนไป
กับการซื้อเทคโนโลยีแ ละ อุปกรณ์ที่ทันสมัยหลายอย่าง เช่น Droneตรวจจับค่าความร้อนใต้พื้นผิวบ่อขยะ Drone ของเราขึ้นบินเก็บข้อมูลทุกวัน เป็นการเฝ้าระวังปัญหาไฟไหม้ เราสร้างแปลงปลูกพืชไว้ใกล้ลานฝังกลบเพื่อทดสอบคุณภาพดินว่ามีภาวะ TOXIC จากน้ำชะขยะที่ไหลซึมลงก้นบ่อหรือไม่ เราคิดค้นวิธีกำจัดขยะแห้ง และ ขยะเปียกแบบง่าย ๆ ที่ทุกบ้านทำได้ โดยการสร้างแปลงปลูกผักสวนครัวจากวัสดุที่เป็นขยะเหลือทิ้ง แล้วใช้ภาชนะถังเจาะรูมาฝังไว้กลางแปลงผัก เพื่อให้นำ
ขยะเปียกที่เป็นเศษอาหารมาใส่ทำเป็นปุ๋ยหมักบำรุงพืชผัก เราเรียกองค์ความรู้นี้ว่า แปลงคีย์โคนที่ได้ประโยชน์ทั้งการกำจัดขยะ และ การได้ผักปลอดสารเป็นอาหารในครัวเรือน เรายังได้ส่งทีมพนักงานชุด “ผู้พิชิตขยะ” เข้าเผยแพร่ความรู้เรื่องวิธีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางคือที่บ้านรวมทั้งสร้างแปลงคีย์โคนไว้เป็นตัวอย่างให้แก่หมู่บ้านที่สนใจ ในเวลาเดียวกันทีมผู้พิชิตขยะก็ถือโอกาสเข้าเยี่ยมสอบถามความเดือดร้อนรำคาญของชุมชนอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้นชาวชุมชนแพรกษาใหม่ บางพลีใหญ่ แพรกษา บางส่วนของเทพารักษ์ หรือชุมชนอื่นใดในสมุทรปราการ และท่านคิดว่ากำลังได้รับผลกระทบจาก
การดำเนินกิจการของเรา ขอให้ท่านแจ้งเราโดยตรงได้ทันทีในทุกช่องทางที่เราเปิดไว้รอรับ คือ
โทรสายตรง: 061-656-2489 / 081-712-5094 / 081-631-4932
Line official: @eep_thailand
Page Facebook: Eastern Energy Plus
Website : www.easternenergyplus.com