กิจกรรมดังกล่าวนี้ จัดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแพรกษาใหม่ มีเยาวชนซึ่งเป็นลูกหลานของชาวแพรกษาใหม่ จำนวน 240 คนศึกษาอยู่ในระดับเตรียมอนุบาลจนถึงชั้นอนุบาล 3 โดยนายอบีนาช มาจี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด และ นายอำนวย บุญริ้ว นายกเทศมนตรีเมืองแพรกษาใหม่ ที่ต่างมีความเห็นพ้องกับมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งได้ประชุมหารือกันเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 เกี่ยวกับประเด็นอันตรายต่อระบบนิเวศน์และมนุษยชาติที่เกิดจากปัญหาขยะล้นโลก และได้ข้อสรุปกำหนดให้ทุกวันที่ 30 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันปลอดขยะโลก” หรือ “World Zero Waste Day” เนื่องด้วยทั้ง CEO กลุ่มบริษัทอีอีพี และนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ ต่างเข้าใจเป็นอันดีว่า สังคมปลอดขยะ คือสังคมที่ทำให้ประชากรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดถูกสุขลักษณะและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การจัดกิจกรรมฉลองวันเกิด Zero Waste Day ที่โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแพรกษาใหม่ขึ้นในวันที่ 14 ธันวาคม 2566 จึงเป็นกลยุทธิ์เริ่มต้นปูทางปลูกฝังค่านิยมการใช้ชีวิตแบบ Zero Waste ให้เยาวชนได้รู้จักตั้งแต่ยังเยาว์วัย เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักเรื่องการลดขยะจนเหลือศูนย์ ที่เริ่มต้นทำได้จากตัวเอง ครอบครัว โดยหวังผลว่าเมื่อเยาวชนเหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็จะเป็นประชากรคุณภาพที่เข้าใจเรื่อง ปัญหาขยะชุมชน และวิธีการจัดการกับขยะชุมชนให้หมดสิ้นตามวิถี Zero Waste และพอใจกับการใช้ชีวิตแบบ Zero Waste คือการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่สร้างขยะใหม่ ๆ พยายามไม่ให้มีอะไรหลงเหลือจนเป็นขยะได้ โดยยึดหลักปฏิบัติ 1A3Rs ประกอบด้วย Avoid หลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดขยะเพิ่ม Reduce ใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะให้น้อยลง Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ และ Recycle การหมุนเวียนนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงทางกายภาพให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่แล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก ซึ่งหากสมุทรปราการมีประชากรที่นำแนวทางนี้มาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของแต่ละคนได้ ก็จะเกิดผลในอนาคตให้ จังหวัดสมุทรปราการ สามารถจัดการปัญหาขยะชุมชนได้อย่างหมดสิ้นไม่เหลือขยะตกค้าง และสามารถเป็นจังหวัดปลอดขยะ หรือ Zero waste Province ได้อย่างสมภาคภูมิ นอกจากนี้การมีระบบบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพครบวงจร กล่าวคือ ต้นทางคือประชาชนทุกครัวเรือนมีจิตสำนึกการแยกขยะก่อนทิ้ง กลางทางคือภาคราชการท้องถิ่น มีระบบการเข้าจัดเก็บและการขนส่งขยะสู่แหล่งกำจัดอย่างถูกหลักการเป็นมาตรฐานสากล และปลายทาง คือแหล่งกำจัดขยะมีวิธีการกำจัดขยะแต่ละประเภทอย่างถูกหลักวิชา หากทุกองคาพยพขับเคลื่อนไปพร้อมๆกันได้